Skip to main content

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานด้วยภาษาจาวา (Java Programming Fundamentals)


BUU




การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานด้วยภาษาจาวา

(Java Programming Fundamentals)

เนื้อหาหลักสูตร

คุณสมบัติภาษาจาวา หลักการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ไวยากรณ์ ชนิดข้อมูล ตัวแปร ค่าคงที่ นิพจน์และตัวดำเนินการ คำสั่งแสดงข้อมูลและรับข้อมูล คำสั่งทำงานแบบเงื่อนไข คำสั่งทำงานแบบวนซ้ำ อาร์เรย์ การสร้างเมธอด การเขียนและอ่านไฟล์ข้อมูล

Properties of the Java language; introduction to computer programming; syntax; data types; variables; constants; expressions and operators; input/output statements; decision statements; iteration statements; arrays; methods; writing and reading files

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของหลักสูตร

  • ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการเขียนโปรแกรมพื้นฐานด้วยภาษาจาวาได้
  • ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างถูกไวยากรณ์
  • ผู้เรียนสามารถสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองความต้องการได้

เนื้อหาแต่ละบทเรียน

บทที่ 1 ภาษาจาวาและหลักการเขียนโปรแกรม

  • คุณสมบัติภาษาจาวาเบื้องต้น
  • ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
  • หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
  • ชุดเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม

บทที่ 2 ตัวแปรและชนิดข้อมูล

  • คุณสมบัติของตัวแปร
  • รูปแบบการประกาศตัวแปร
  • ชนิดข้อมูลพื้นฐาน
  • ค่าคงที่

บทที่ 3 ตัวดำเนินการ

  • ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
  • ตัวดำเนินการกำหนดค่า
  • ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
  • ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์
  • การแปลงชนิดข้อมูล

บทที่ 4 การแสดงข้อมูลและรับข้อมูล

  • คำสั่งการแสดงข้อมูล
  • การแสดงตัวอักขระพิเศษ
  • คำสั่งการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด

บทที่ 5 คำสั่งทำงานแบบเงื่อนไข

  • กลุ่มคำสั่ง if
  • คำสั่ง switch

บทที่ 6 คำสั่งทำงานแบบวนซ้ำ

  • คำสั่งลูป for
  • คำสั่งลูป while
  • คำสั่งลูป do while
  • คำสั่ง Jumping Statement

บทที่ 7 อาร์เรย์

  • คุณสมบัติของอาร์เรย์
  • การประกาศอาร์เรย์
  • การใช้งานอาร์เรย์

บทที่ 8 การสร้างเมธอด

  • รูปแบบเมธอด
  • รูปแบบการเรียกใช้งานเมธอด
  • การใช้งานเมธอด

บทที่ 9 การเขียนและอ่านไฟล์ข้อมูล

  • การสร้างไฟล์ข้อมูล
  • การเขียนข้อมูลลงไฟล์
  • การอ่านข้อมูลจากไฟล์
  • เมธอดแสดงคุณสมบัติไฟล์

การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลดังนี้

  1. แบบทดสอบระหว่างเรียนในแต่ละบทเรียน คิดเป็นร้อยละ 10
  2. แบบทดสอบหลังเรียนในแต่ละบทเรียน คิดเป็นร้อยละ 60
  3. แบบทดสอบหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 30

ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 70 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนด จึงจะถือว่าผ่านและได้รับ Certificate of Completion ในรูปแบบออนไลน์

ผู้สอน

Course Staff Image #1

ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ
คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

Enroll